เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

2.   สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์หลายเซลล์  มารวมกันเป็นรูปร่างโดยแต่ละเซลล์จะมีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันแต่มีการทำงาน ประสานกันของเซลล์ทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นรูปร่างอันมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  นอกจากนั้นเซลล์ใหม่จะเกิดจากกระบวนการแบ่งเซลล์ ของเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อน และเซลล์ใหม่จะได้รับการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม จากเซลล์เดิมด้วย   เรียกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ว่า  สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  ได้แก่ พืช  สัตว์  มนุษย์   และ เห็ดรา    เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีขนาดเล็กมาก  มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นได้แก่

 2.1   เซลล์สัตว์    เช่น

 2.1.1     เซลล์เม็ดเลือดแดงของกบและปลา   มีรูปร่างรีเป็นรูปไขและมีนิวเคลียสใหญ่อยู่ตรงกลาง ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สไปยัง     เซลล์ต่างๆของร่างกาย

            2.1.2   เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม    มีรูปร่างกลมแบน    ตรงกลางเว้าเข้าหากัน    ไม่มีนิวเคลียส เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สและลำเลียงแก๊ส

           2.1.3    เซลล์เม็ดเลือดขาวของคน   มีรูปร่างกลม   ไม่มีสี มีขนาดใหญ่กว่า เซลล์เม็ดเลือดแดง   แต่มีจำนวนน้อยกว่า   มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค

          2.1.4    เซลล์ไข่ของสัตว์ปีก   คือส่วนที่เป็นไข่แดงนั่นเอง

         2.1.5    เซลล์อสุจิของคน   ประกอบด้วย   3  ส่วน  คือ   ส่วนหัว   ลำตัว และหาง  โดยหางเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่

        2.1.6   เซลล์กล้ามเนื้อของคน   มีลักษณะยาวเรียว เพื่อให้เหมาะต่อการ ยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ

2.2   เซลล์พืช   เช่น   เซลล์ต่าง ๆ    ในใบไม้

        2.2.1.    เซลล์ผิวใบ      อยู่นอกสุดของใบ   มีรูปร่างเป็นช่องสี่เหลี่ยม   มีสารคล้ายขี้ผึ้งขาว ๆ ปกคลุมอยู่    ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ

       2.2.2.  เซลล์คุม     มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  1  คู่ประกบกัน    ทำให้เกิดรูตรงกลาง    เป็นทางแลกเปลี่ยนแก๊สและไอน้ำระหว่างภายในและภายนอกใบซึ่งเซลล์คุมนี้ จะไม่พบในพืชใต้น้ำ

      

       2.2.3.เซลล์ชั้นในของใบ  มีรูปร่างยาวต่อกันภายในมีเม็ดคลอโรพลาสต์จำนวนมาก

ที่มา : http://www.ratchanee.thport.com/E-learning/Cell.html

ใส่ความเห็น